ความคิดเห็นที่ 10
b>1.ความเป็นมา
แนวคิดในการขุดคลองกระ
มีมานานกว่า 300 ปีแล้ว ได้มีการสำรวจมาหลายสมัย
ซึ่งมีทั้งผู้สนับสนุนและต่อต้าน
แม้กระทั่งในปัจจุบันก็ตามที
เพื่อตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของโครงการนี้
ได้มีการศึกษาทั้งโดยหน่วยงานต่างๆหลายหน่วย
ที่ได้ทำการศึกษาไม่ว่าในยุคใดสมัยใด ต่างก็ให้ผลค่อนข้างตรงกัน
ซึ่งสถาบันพาณิชยนาวี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ดร.กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ
ได้รวบรวมมานำเสนอ เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน
และได้เขียนในหนังสือ กลยุทธ์บริหารธุรกิจการขนส่งทางเรือ
จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดังมีใจความสรุปได้ดังต่อไปนี้
2. ข้อเท็จจริง
-
คลองกระ เป็นคลองที่จะขุดขึ้น เพื่อเชื่อมทะเลอันดามัน
กับอ่าวไทย มีความยาวประมาณ 102 กิโลเมตร กว้าง 450 เมตร ลึก 20
เมตร คาดว่าสามารถรองรับเรือผ่านคลองได้ราว 40 ลำต่อวัน
(ดูตารางเปรียบเทียบกับคลองอื่นๆในลักษณะเดียวกัน)
-
ค่าขุดคลองโดยใช้วิธีการขุดปกติ ใช้เงินลงทุน 814,448 ล้านบาท
ระยะเวลาขุด 10-15 ปี หรือถ้าขุดโดยใช้ระเบิดนิวเคลียร์
จะใช้เงินลงทุน 435,849 ล้านบาท ระยะเวลาขุด 8-13 ปี
-
ประมาณการรายรับ แบ่งออกเป็น รายได้จากค่าผ่านคลอง
และรายได้จากการพัฒนาเขตอุตสาหกรรมบริเวณข้างคลอง ในสัดส่วน
80:20 โดยอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า ช่องแคบมะละกาถูกปิด
และเรือจะวิ่งมาผ่านคลองกระแทน จำนวน 220000 ลำต่อปี
โดยเป็นเรือบรรทุกน้ำมันจะมีสองขนาดคือ 250000 ตัน และ 500000
ตัน อย่างละ 50% โดยคิดค่าผ่านทางเฉลี่ย ที่ตันละ 0.50 - 1.00
เหรียญสหรัฐต่อตัน
- ค่าใช้จ่ายของเรือ
สำหรับเรือบรรทุกน้ำมันขนาด 250,000 ตัน คิดอยู่ที่ $70,800 US
ต่อวัน
- โครงการขุดคลองกระ
เป็นโครงการที่เริ่มขุดทำแล้วต้องขุดให้เสร็จ
มิฉะนั้นจะไม่ได้รับผลตอบแทน เลย โดยหากขุดแล้ว ไม่ขุดให้สำเร็จ
จะเป็นการลงทุนที่เกือบจะเรียกได้ว่า สูญเปล่า
ใช้ประโยชน์อย่างอื่นแทบไม่ได้เลย
- การขุดคลอง
ยังไม่ได้มีการศึกษาผลกระทบในเชิงนิเวศน์
รวมถึงการศึกษาแผนพัฒนาเขตอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องในเขตบริเวณคลอง
ซึ่งจากผลการดำเนินงานของคลองอื่นๆที่ได้มีการขุดไปแล้ว พบว่า
เขตอุตสาหกรรมในบริเวณคลอง
ไม่ประสบผลสำเร็จในเชิงเศรษฐกิจ
-
เส้นทางผ่านคลองจะช่วยลดระยะทางเส้นทาง ยุโรป - ญี่ปุ่น ได้ 585
กิโลเมตร
3.1. ผลการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษา TAMS
ผลการศึกษาของ TAMS (Tippets Abbett McCarthy Straton)
โดยสถาบัน Fusion Energy Foundation (FEF) ในปี 2516
และปรับปรุงล่าสุดโดยคณะกรรมกาธิการวิสามัญของรัฐสภาในเดือนกันยายน
ปี 2540 สรุปประเด็นได้ว่า -
คลองกระจะช่วยให้เรือประหยัดเวลาเดินทาง
จากเดิมที่เคยผ่านช่องแคบมะละกา ลงได้ 11 ชม. (คิดที่ความเร็ว
29.6 กม./ชม.) - คิดเป็นรายได้รวมทั้งสิ้น 1.77
ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในระยะเวลา 67 ปี - ระยะเวลาคืนทุน
ไม่น้อยกว่า 50 ปี - รายได้นี้ คิดจากสมมุติฐานที่ว่า
ช่องแคบมะละกาถูกปิด และเรือทุกลำ จำนวน 220000 ลำ
ต่อมาวิ่งผ่านคลองกระแทน และเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ขยายตัวในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง -
ค่าผ่านทางสำหรับเรือน้ำมันขนาด 250,000 ตัน จะอยู่ที่ 200,000
เหรียญสหรัฐต่อเที่ยว
ซึ่งเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายของเรือที่ลดลงเนื่องจากคลองสามารถช่วยประหยัดระยะเวลาเดินทางได้
11 ชม. เป็นเงินเพียง 31,860 เหรียญสหรัฐต่อเที่ยว
ซึ่งค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นนี้
อาจทำให้เรือยอมเสียเวลาเดินทางอ้อมผ่านช่องแคบมะละกาตามเดิมมากกว่า
3.2.
ผลการศึกษาของกระทรวงคมนาคม ผลการศึกษาของกระทรวงคมนาคมในเดือน
กรกฏาคม 2541 ได้วิเคราะห์ผลการดำเนินงานของการขุดคลองกระ
โดยตั้งสมมุติฐานเบื้องต้นดังนี้ - อายุโครงการ 67 ปี -
รวมเป็นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 773,725 ล้านบาท
โดยแบ่งเป็นค่าขุดคลอง 618,979 ล้านบาท
และค่าดำเนินงาน/ค่าบำรุงรักษา (ตั้งแต่ปีที่ 15) จำนวน 154,745
ล้านบาท - คลองสามารถรับปริมาณการจราจรได้ 50,000 ลำต่อปี
ที่การใช้ประโยชน์ของคลอง 80% -
เรือทุกลำที่เคยวิ่งผ่านช่องแคบมะละกาจะต้องวิ่งผ่านคลองกระ -
ขนาดของเรือที่ผ่านคลองกระ เฉลี่ยอยู่ที่ 20,000 ตัน -
จากอัตราค่าผ่านคลองที่ 0.5 เหรียญสหรัฐต่อตัน
จะได้ค่าผ่านคลองราวปีละ 600 ล้านบาท เท่านั้น
โดยมีประมาณการรายได้ขั้นสูงในปี 2000 อยู่ที่ 25,400 ล้านบาท
ในขณะที่ถ้าต้องการ IRR 13% จะต้องมีรายได้ไม่น้อยกว่า 168,197
ล้านบาท ซึ่งนับว่า รายได้จริง
ต่ำกว่าที่ประมาณการไว้มาก
3.3.
ผลการศึกษาของสถาบันพาณิชยนาวี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลการศึกษาของจุฬาฯ
ได้ใช้แนวทางในการคิดคำนวณทางตัวเลข 2 ตัว
เพื่อตัดสินความเป็นไปได้ของโครงการ กล่าวคือ ระยะเวลาคืนทุน
และอัตราผลตอบแทนการลงทุน โดยที่ เมื่อใช้ตัวเลข
สมมุติฐานดังนี้ - ค่าใช้จ่ายในการขุดคลองด้วยวิธีปกติธรรมดา
เป็นเงินประมาณ 800,000 ล้านบาท - คลองสามารถรับเรือได้
14,000 ลำต่อปี โดยคิดค่าผ่านทาง 2 ล้านบาท
โดยคิดจากอัตราสำหรับเรือน้ำมันที่มีขนาด 50,000 ตัน
รวมเป็นเงินได้ 28,000 ล้านบาท
ต่อปี
จะได้ระยะเวลาคืนทุนที่ 28.57 ปี
(บวกระยะเวลาขุดคลองอีก 10 ปี รวมเป็น 38.57 ปี)
โดยมีอัตราผลตอบแทนอยู่ที่ 3.5
% ซึ่งเมื่อนำตัวเลขนี้มาคำนวณหาอัตราส่วนรายได้ต่อทุน
(Benefit/Cost Ratio : BCR) , มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present
Worth : NPW) และ อัตราผลตอบแทนการลงทุนภายใน (Internal Return
Rate : IRR) บนตัวเลขสมมุติฐาน ว่า รายได้จะเพิ่มขึ้นช่วงละ 25 %
ทุกๆ 15 ปี จะได้ว่า
30ปี
40ปี 50ปี
60ปี BCR
0.473741 0.710985
0.903499 1.06186 NPW
-269,595ล้าน -151,265ล้าน -51,349ล้าน 33,343
ล้านบาท IRR 1.9751
5.8570 7.3184
8.3173
อนึ่ง
เกณฑ์การตัดสินใจในการลงทุน ของนักลงทุนทั่วไปนั้น
จะพิจารณาจาก - ค่า BCR ต้องมากกว่า หรืออย่างน้อย เท่ากับ
1 - ค่า NPW ต้องมากกว่า หรืออย่างน้อย เท่ากับ 0 - ค่า
IRR ต้องมากกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
(ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจและพัฒนาสังคมแห่งชาติกำหนดไว้ที่ 8%
ส่วนธนาคารโลกกำหนดไว้ที่ 12%)
เมื่อเปรียบเทียบ
ตัวเลขที่คำนวณได้ข้างต้น และ เกณฑ์มาตรฐานของนักลงทุน จะพบว่า
ดัชนีตัวเลขทุกตัวยืนยันตรงกันว่า
ความเป็นไปได้ของโครงการนี้มีค่อนข้างน้อย และหากก่อสร้างจริง
จะมีระยะเวลาคืนทุนไม่น้อยกว่า 60 ปี และยิ่งไปกว่านั้น
ตัวเลขที่ได้นี้ ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า
สถานการณ์เป็นใจแบบสุดๆ เช่น เรือวิ่งผ่านคลองจำนวนมาก
เป็นเรือขนาดใหญ่ที่ยอมจ่ายค่าผ่านทางราคาโหดๆ
และสภาพเศรษฐกิจเอเชียรุ่งเรืองมากๆ
ทำให้เก็บค่าผ่านคลองได้เพิ่มขึ้น 25% ทุกๆ 15 ปี
ซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ
จาก http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=spark&group=6
(ตอนนี้ไม่มีแล้ว)
จากคุณ : เซ็ง (นารุ) - [ 2 ก.ย. 50 14:24:58
A:124.121.3.225 X: ] | |
|