สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา
รศ.ดร.สถาพร เขียววิมล
อดีตที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการขุดคอคอดกระ
(คลองไทย) ของวุฒิสภา
ได้เดินทางมาปราศรัยที่วัดไทยลอส แอนเจลิส
เรื่องผลดีของการขุดคอคอดกระ หรือคลองไทย
หลังจากที่ได้ศึกษาวิจัยอย่างละเอียด
โดยกล่าวว่าวุฒิสภาชุดที่ผ่านมา
ได้มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบกับโครงการขุดคลองดังกล่าวแล้ว
คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ
ชุดนี้ตั้งขึ้นมาเมื่อกลางปี 44
หลังจากเลือกตั้งแล้ว แล้วก็ได้ใช้เวลาศึกษาประมาณ
3-4 ปี เราไปดูคลองสุเอซ ไปดูคลองปานามา
ดูท่าเรือเกือบทั่วโลกมาแล้ว เมื่อวันที่ 24
มิถุนายนที่ผ่านมา
เราก็ได้นำผลการศึกษาเข้าวุฒิสภา
ปรากฎว่าวุฒิสภาลงมติเป็นเอกฉันท์ครับ
ดร.สถาพรกล่าว
ดร.สถาพรกล่าวด้วยว่า
ความจำเป็นของการขุดคลองคอคอดกระมีหลายประเด็น
โดยเฉพาะประเด็นความได้เปรียบ-เสียเปรียบทางเศรษฐกิจ
และความมั่นคง
เท่าที่เขามีการศึกษาแล้ว
ระบบ logistics
ของประเทศไทยเรามีประสิทธิภาพต่ำมาก
คือ 25-30 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี
อย่างอเมริกานี่เขาเสียแค่ประมาณ 10
เปอร์เซ็นต์เท่านั้น พูดง่ายๆ
ตอนนี้ประเทศไทยมีรายได้ประมาณปีละ 7 ล้านล้านบาท
เราเสียค่าระบบการขนส่งประมาณ 2 ล้านล้านบาท
แต่ถ้าเราขุดคลองนี่ อย่างน้อยเราประหยัดค่าน้ำมัน
ค่าใช้จ่ายหรือค่าอะไรต่างๆ
ไม่ต่ำกว่าแสนถึงสองแสนล้านบาท
นั่นคือสิ่งที่เราเห็นชัดๆ ในทางเศรษฐศาสตร์
ส่วนประเด็นความมั่นคงนั้น
ดร.สถาพรกล่าวว่าเส้นทางขนส่งสินค้าหรือน้ำมันจากยุโรปหรือกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันมายังบริเวณอ่าวไทย
ต้องอ้อมช่องแคบมะละกา
ซึ่งเป็นน่านน้ำของประเทศเพื่อนบ้าน คือสิงคโปร์
หากมีกรณีพิพาท
มีการปิดเส้นทางเดินเรือสินค้าขึ้นมา
ประเทศไทยจะลำบาก
เช่นเดียวกับความมั่นคงทางการทหาร
เพราะไทยสามารถนำเรือรบออกสู่ฝั่งอันดามันได้โดยไม่ต้องผ่านน่านน้ำของประเทศเพื่อนบ้าน
นอกจากนั้น
อดีตที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ของวุฒิสภา
ยังกล่าวด้วยว่า หากมีการขุดคลองจริง
จะเพิ่มอำนาจต่อรองให้ไทย ทั้งในทางการเมือง
ทางเศรษฐกิจ และทางการทหาร
รวมถึงสามารถแก้ปัญหาภาคใต้ได้อย่างถาวร
เพราะคลองไทยจะสร้างงาน สร้างรายได้
และสร้างความเจริญในพื้นที่ภาคใต้
จะมีการอพยพเข้าไปประกอบอาชีพในพื้นที่ไม่น้อยกว่า
4 ล้านคน
ทุกวันๆ
ที่เขาระเบิดตูมๆ ยิ่งนานวันเราก็ยิ่งเสียหาย
เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่รีบทำ ถ้าขุดคลองเรามีโอกาส
เพราะท่าเรือไหนที่มันจนบ้างล่ะ
อย่างน้อยก็ประหยัดค่าน้ำมันของเราเองอยู่แล้ว
นี่ยังไม่ได้พูดถึงรายได้จากเรือต่างประเทศที่มาใช้บริการของเราเลยนะ
เพราะฉะนั้นถ้าเราขุดแล้วไม่ให้คนอื่นใช้
ยังคุ้มเลย เรือหาปลาสองฝั่งห้าหมื่นกว่าลำ
ลองคิดดูซิ เข้าอ่าวไทยออกไปถึงน่านน้ำของอินเดีย
แหล่งอุดมสมบูรณ์ทั้งนั้น
ส่วนบริเวณที่เหมาะสมสำหรับการขุดคลองนั้น
ดร.สถาพรกล่าวว่า มีหลักการพิจารณาห้าส่วนด้วยกัน
คือ 1. คำนึงถึงความมั่นคงในด้านเศรษฐกิจ
คือขุดแล้วเราจะได้ประโยชน์มากขนาดไหน 2.
ความมั่นคงทางการทหาร 3. ด้านสิ่งแวดล้อม
ว่าขุดตรงไหนแล้วปัญหาสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด 4.
ความหนาแน่นของประชากร ปัญหาสังคม การเวนคืน ฯลฯ
และ 5. คำนึงถึงความเป็นไปได้ทางวิศวกรรม
จากที่วุฒิได้ศึกษานี่
เส้น เก้าเอ เหมาะสมที่สุด เริ่มต้นผ่านทางกระบี่
พัทลุง ตรัง นครศรีธรรมราช
และจะมาเอี่ยวทางสงขลานิดหน่อย คือจริงๆ
ตรงนี้เราสามารถจะยืดหยุ่นได้
แต่ถ้าเป็นขุดตามเส้นเก้าเอ ก็จะยาวประมาณ 120
กิโล
ลักษณะของคลองไทยนั้น
ดร.สถาพรกล่าวว่าน่าจะขุดเป็นคลองคู่ขนาน
ห่างกันประมาณ 1,000 เมตร
ความกว้างของคลองไม่ต่ำกว่า 350 เมตร
และลึกพอให้เรือเดินทะเลขนาดใหญ่ที่บรรทุกสินค้าเต็มพิกัด
กินน้ำลึกระหว่าง 27-25 เมตรผ่านไปมาได้
มีสะพานข้ามสามแห่ง
และมีอุโมงค์ลอดด้านใต้อีกสองอุโมงค์
ใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณห้าปี
ตนได้คำนวณงบประมาณในการขุดคลองเอาไว้ประมาณหนึ่งล้านล้านบาท
แยกเป็นสองส่วน คือ 70 เปอร์เซ็นต์เป็นค่าแรง
ค่าปูนซีเมนต์, ค่าเหล็ก ค่าวัสดุก่อสร้าง
ซึ่งมีอยู่ในประเทศไทย อีก 30 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือ
หรือประมาณสามแสนล้าน เป็นค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
ค่าเครื่องจักร
ตนเชื่อว่าไม่มีปัญหาในการกู้จากต่างชาติ
โดยที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการฯ
ได้รับการติดต่อจากนักการทูตของหลายๆ ประเทศ
ที่สนใจจะร่วมลงทุน
ต่อคำถามว่า
มีปฏิกริยาจากประเทศทางภาคใต้ของไทยที่อาจจะเสียผลประโยชน์หากมีการขุดคลองไทยบ้างหรือไม่
ดร.สถาพรกล่าวว่าประเทศสิงคโปร์ได้ส่งอุปทูตมาพบสองครั้ง
แต่อาจเป็นเพราะไม่เชื่อว่าจะมีการขุดคลองจริง
จึงไม่มีแรงกดดันใดๆ เกิดขึ้น
ผมบอกได้เลยแล้วถ้าเกิดเราขุดจริงๆ
สิงคโปร์จะคลานมาหาเราเป็นประเทศแรก
เพราะเขาเสียผลประโยชน์มหาศาล
ไทยเราจะผลิตน้ำมันได้ถูกกว่าสิงคโปร์
เพราะระยะทางขนส่งน้ำมันใกล้กว่า
เรือสินค้าที่ผ่านคลองไทยจะเป็นลูกค้าน้ำมันเชื้อเพลิงของเรา
อยากบอกว่าทุกวันนี้ สิงคโปร์ไม่มีน้ำมันสักหยด
แต่ขายน้ำมันให้กับเรือที่มาใช้บริการได้ 56,700
ตันต่อวัน
สิงคโปร์ขายเดือนเดียวมากกว่าเราขายหนึ่งปี
ต่อคำถามเรื่องการเปลี่ยนรัฐบาลที่เกิดขึ้น
มีผลกับมติของวุฒิสภาชุดที่แล้วหรือไม่
ดร.สถาพรกล่าวว่าในเชิงกฎหมาย ถือว่าไม่มีผลกระทบ
แต่อยู่ที่ว่ารัฐบาลใหม่จะมีท่าทีอย่างไรต่อเรื่องนี้
หลังจากได้ผ่านวุฒิสภาแล้ว
การปรับเปลี่ยนรัฐธรรมนูญถือว่าไม่มีผลกระทบ
เพราะอย่างน้อยองค์กรระดับวุฒิสภารับรอง
ซึ่งในรัฐธรรมนูญถือว่าสมบูรณ์แบบแล้ว
เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ โครงการนี้ รัฐบาลจะทำหรือไม่
ก็ต้องอาศัยพลังประชาชนแล้ว
เพราะผมบอกได้เลยว่าโครงการแบบนี้
ถ้าจะหวังจากภาครัฐอย่างเดียว ลืมไปได้ ตอนนี้
ไม่ใช่อยู่ที่วุฒิชุดที่แล้วหรือชุดไหนทั้งนั้น
อยู่ที่ภาคประชาชนแล้ว เพราะมาถึง ณ วันนี้
คลองไทยในทางการเมืองมันได้เกิดแล้ว
เพราะวุฒิมันได้ผ่านไปแล้ว
ก็ขึ้นอยู่กับการผลักดันของประชาชนแล้วครับ
ดร.สถาพรกล่าวในที่สุด.